เมนู

มีจิตผูกพัน. แม้ตั้งตนไว้ในฐานะที่สูงอย่างนี้ว่า ผู้นี้เว้นเราเสียแล้วก็จะ
ไม่มีชีวิตอยู่ได้ เราเป็นแบบอย่างของพวกเขา เราจะช่วยบรรเทาทุกข์ให้
แก่พวกเขา ดังนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตผูกพัน. ก็ในที่นี้ประสงค์เอาความ
เป็นผู้มีจิตผูกพันอย่างนี้. บทว่า เอตํ ภยํ คือ ภัยยังประโยชน์ให้เสื่อม
นั้น พระปัจเจกสัมพุทธะกล่าวหมายถึงการเสื่อมจากสมาบัติของตน.
บทว่า สนฺถเว ในความสนิทสนม ความสนิทสนมม 3 อย่าง คือ สนิท-
สนมด้วยตัณหา 1 ด้วยทิฏฐิ 1 ด้วยความเป็นมิตร 1. ในความสนิทสนม
3 อย่างนั้น ตัณหาแม้มีประเภทตั้ง 108 ก็เป็น ตัณหาสัถวะ. ทิฏฐิ
แม้มีประเภท 62 ก็เป็นทิฏฐิสันถวะ. การช่วยเหลือมิตรเพราะมีจิตผูกพัน
กัน เป็นมิตรสันถวะ. มิตรสันถวะนั้นประสงค์เอาในที่นี้. สมาบัติของ
บุคคลนั้นเสื่อมไปด้วยมิตรสันถวะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
จึงกล่าวว่า เราเห็นภัยนั้นในความสนิทสนมจึงได้บรรลุ. บทที่เหลือ
เช่นกับที่กล่าวไว้แล้วนั้นแล ไม่มีอะไรที่ควรกล่าวในนิเทศ.
จบคาถาที่ 3

คาถาที่ 4


4) วํโส วิสาโลว ยถา วิสตฺโต
ปุตฺเตสุ ทาเรสุ จ ยา อเปกฺขา
วํสากฬีโร ว อสชฺชมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

บุคคลข้องอยู่แล้วด้วยความเยื่อใยในบุตรและภรรยา
เหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยวเกาะกันฉะนั้น บุคคลไม่ข้องอยู่
เหมือนหน่อไม้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 4
ดังต่อไปนี้.
บทว่า วํโส คือ ไม้ไผ่. บทว่า วิสาโล คือ หนาแน่น. อักษร
เป็นอวธารณะ. หรือ เอว อักษร ในบทนี้ เอ อักษรหายไปด้วยบท
สนธิ. พึงเชื่อมบทนั้นในบทอื่น. เราจักประกอบบทนั้นในภายหลัง.
บทว่า ยถา คือ ในความเปรียบเทียบ. บทว่า วิสตฺโต คือ เกี่ยวข้อง
พัวพัน ร้อยรัด. บทว่า ปุตฺเตสุ ทาเรสุ คือ ในบุตรธิดาและภรรยา.
บทว่า ยา อเปกฺขา คือ ตัณหาใด ความเสน่หาใด. บทว่า วํสกฬีโรว1
อสชฺชมาโน
คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่เกี่ยวข้อง เหมือนหน่อไม้ไผ่.
ท่านอธิบายไว้อย่างไร. อธิบายไว้ว่า พุ่มไม้ไผ่ใหญ่เกี่ยวพันกันฉันใด
ตัณหาในบุตรและภรรยาทั้งหลาย กว้างขวางเกี่ยวพันกันฉันนั้น แม้ตัณหา
นั้นชื่อว่าเกี่ยวข้องกัน เพราะร้อยรัดวัตถุเหล่านั้นนั่นเอง เรานั้นมีตัณหา
เพราะความเพ่งนั้น เห็นโทษของความเพ่งอย่างนี้ว่า เหมือนพุ่มไม้ไผ่ใหญ่
เกี่ยวพันกัน แล้วจึงตัดความเพ่งนั้นเสียด้วยมรรคญาณ ไม่ขัดข้องด้วย
อำนาจแห่งตัณหา มานะและทิฏฐิในรูปเป็นต้นก็ดี ในลาภเป็นต้นก็ดี
ในกามราคะเป็นต้นก็ดี จึงบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ ดังนี้. บทที่เหลือ
พึงทราบโดยนัยมีในก่อนนั่นแล ในนิเทศแห่งคาถานี้ไม่มีอะไรนอกเหนือ
ไปจากนี้.
จบคาถาที่ 4
1. บาลีเป็น วํสากฬีโรว.

คาถาที่ 6


5) มิโค อรยฺยมิหิ ยถา อพนฺโธ
เยนิจฺฉกํ คจฺฉติ โคจราย
วิญฺญู นโร เสริตํ เปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปิโป.

เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกไว้แล้ว ย่อมไปหากินตาม
ปรารถนา ฉันใด นรชนผู้รู้แจ้ง เพ่งความประพฤติตาม
ความพอใจของตน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 5 ดังต่อไปนี้.
บทว่า มิโค นี้ เป็นชื่อของสัตว์ 4 เท้าที่อยู่ในป่าทุกชนิด. ใน
ที่นี้ท่านประสงค์เอาเนื้อฟาน (อีเก้ง). บทว่า อรญฺญมฺหิ คือ ป่าที่เหลือ
เว้นบ้านและที่ใกล้เคียงบ้าน. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาสวน. เพราะ-
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุยฺยานมฺหิ คือ ในสวน. บทว่า ยถา คือ ใน
ความเปรียบเทียบ. บทว่า อพนฺโธ คือ อันเครื่องผูกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาเชือกและเครื่องผูกเป็นต้น มิได้ผูกพันไว้. ด้วยบทนี้ท่านแสดง
ถึงความพระพฤติที่คุ้นเคยกัน. บทว่า เยนิจฺฉกํ คจฺฉติ โคจราย ไป
เพื่อหาอาหารคามความต้องการ คือไปเพื่อหาอาหารตามทิศที่ต้องการไป.
เพราะฉะนั้น ในบทนั้นท่านจึงแสดงว่า ไปยังทิศที่ต้องการจะไป เคี้ยว
กินอาหารที่ต้องการเคี้ยวกิน. บทว่า วิญฺญู นโร คือ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต.
บทว่า เสริตํ ธรรมอันให้ถึงความเสรี คือ ความประพฤติด้วย
ความพอใจ ความไม่อาศัยผู้อื่น. บทว่า เปกฺขมาโน คือ ดูด้วยปัญญา